มหา + เวสสันดร + ชาดก หมายถึงเ รื่องราวที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในพระชาติกำเนิดอันยิ่งใหญ่ คือเป็นพระเวสสันดร ชาดกเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งใน นิบาตชาดก มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เรามักเรียกนิบาตชาดกเป็นไทยๆว่า พระเจ้าห้าร้อยห้าสิบชาติ นิบาตชาดกเป็นคัมภีร์ซึ่งประกอบไปด้วยนิทานเรื่องต่างๆ ล้วนเป็นอุทาหรณ์สอนธรรมะเล่าถึงการเสวยพระชาติในอดีตของพระพุทธเจ้าว่าชาติใดทรงเกิดเป็นอะไร และได้ทรงกระทำคุณความดี หรือที่เรียกกันเป็นศัพท์ว่า "บำเพ็ญบารมี" อะไรในพระชาตินั้นๆ พระชาติหนึ่งก็ทรงสร้างคุณความดีหรือบารมีอย่างหนึ่งทุกชาติไป ในจำนวน ๕๕๐ พระชาติที่ปรากฏในนิบาตชาดกนั้นได้บำเพ็ญบารมีเด่นยิ่งอยู่ ๑๐ ชาติ ที่เรียกกันว่า ทศชาติ ทรงบำเพ็ญทศบารมี คัมภีร์ที่กล่าวถึงทศชาติและบารมีนี้เรียกว่า คัมภีร์มหานิบาต ในทศชาติตามมหานิบาตนั้น ที่ถือว่าสำคัญที่สุด คือ พระชาติที่ทรงบังเกิดเป็นพระเวสสันดร นอกจากจะทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นที่เด่นที่สุดแล้วยังทรงบำเพ็ญบารมีอื่นๆ อันได้กระทำแล้วใน๙ พระชาติก่อนๆ อีกด้วย เท่ากับได้ทรงกระทำคุณความดีเด่นยิ่งครบ ๑๐ ประการในชาตินี้ มหาเวสสันดรชาก จึงเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บางครั้งจึงเรียกชาดกเรื่องนี้ว่า มหาชาติ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาตั้งแต่ครั่งโบราณว่า มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่สำคัญว่าชาดกอื่น เพราะว่าด้วบเรื่องราวที่ปรากฏของพระโพธิสัตว์อยู่ด้วยบริบูรณ์ทั้ง10บารมี และพุทธศาสนิกชนชาวไทยก็นิยมฟังเทศน์กันมาด้วยตลอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดกนั้นมีสันนิษฐานพบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา และถือว่าเป็นมาหเวสสันดรชาดกที่แปลแล้วนำมาแต่งเป็นภาษาไทยเล่มแรก คือ มหาชาติคำหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระกรุณาโปรดเกล้า ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยแปลและเรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2025 ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้โปรดเกล้า ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต เรียบเรียงมหาเวสสันดรชาดกเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2170 เรียก ว่า กาพย์มหาชาติ แต่งแปลเป็นภาษาไทยใช้ฉันทลักษณ์เดียวคือ ร่ายยาว เพื่อใช้สำหรับเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกได้ฟังกัน นอกจากนนียังมีผู้นำ มหาเวสสันดรชาดก ไปแต่งเป็นภาษาไบอีกหลายจำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่นอ กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และ ร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับดังนี้
1. มหาชาติภาคกลาง เมื่อ พ.ศ. 2450 กรมศึกษาธิการได้รวบรวมมหาชาติสำนวนต่างๆเนื้อหาอยู่ในคัมภีร์เทศน์มหาชาติเรื่องมหาเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ 1000 พระคาถา ซึ่งเทศน์ด้วยภาษาไทยถิ่นกลางหรือภาษาไทยมาตรฐาน เทศน์มหาชาติภาคกลาง มีทั้งทำนองหลวงและทำนองราษฎร์ มีทั้งเทศน์ในวัง และเทศน์ในวัด เทศน์ในวังเทศน์แบบทำนองหลวงอย่างเดียว เทศน์ในวัดมีทั้งทำนองหลวงและทำนองราษฎร์ ส่วนวัดขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมด้านบุคลากร จะเทศน์มหาชาติแบบเรียงกัณฑ์ทั้ง 13 กัณฑ์ ตามคัมภีร์เรียกว่าทำนองหลวง เทศน์นอกคัมภีร์เรียกว่าทำนองราษฎร์ บางวัดก็เทศน์แบบผสมผสาน เรียกว่าเทศน์ทั้งเนื้อนอกเนื้อใน ที่มีผู้แต่ง6 ท่าน ดังนี้
- กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์วนปเวศน์ กัณฑ์จุลพน กัณฑ์สักกบรรพ
กัณฑ์มหาราช และ นครกัณฑ์ พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส
- กัณฑ์วนปเวศน์ กัณฑ์จุลพน และกัณฑ์สักกบรรพ พระราชนิพธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- กัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี งานนิพนธ์ เจ้าพระยาพระคลัง(หน)
- ทานกัณฑ์ งานนิพนธ์ สำนักวันถนน
- กัณฑ์ชูชก งานนิพนธ์ สำนักวัดสังข์กระจาย
สำนวนดังกล่าวนั้นแต่งเป็นร่ายยาว นิยมเรียกว่า มหาชาติคำกลอน พระสงฆ์นิยมเอามาเทศน์ให้อุบาสกอุบากสิกาได้ฟังกัน
2. มหาชาติภาคเหนือ สำนวนที่น่าสนจำได้แก่ มหาชาติสำนวนสร้อยสังกร และสำนวนที่รวบรวมโดย พระอุบาลีคุณูปมาจราย์ แต่งเป็นร่ายยาว ที่มีคำคล้องจอง สัมผัสกันไปในแต่และวรรค เป็นมหาชาติที่มีเนื้อความและสำนวนภาษาคล้ายกับมหาชาติของภาคเหนืออีกสำนวนหนึ่ง ที่เรียกว่า สำนวนไม้ไผ่แจ้เจียวแดง ซึ่งเช่อว่าแต่งในสมัยอยุธยา และเป็นต้นแบบของมหาชาติภาคเหนืออื่นๆ
3. มหาชาติภาคอีสาน นั้นมีหลายสำนวนแต่ละวัดต่างใช้ฉบับของท้องถิ่นและคัดลอกสืบต่อมา ชาวอีสานส่วนใหญ่ได้รับวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงมาโดยตลอด และพิธีบุญพระเวส หรือ บุญเผวสหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญมหาชาติ มีการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่ง ในระหว่างออกพรรษาจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ดังมีคำพังเพยว่า "เดือนสามด้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่เดือนสี่ด้อยจัวน้อยเทศน์มะที" (คำว่า เจ้าหัว หมายถึงพระภิกษุ จัว หมายถึงสามเณร มะที หมายถึง มัทรี) บางแห่งทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดก็มีและหากทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดมักจะทำ บุญบั้งไฟรวมด้วยก่อนจัดงาน ทางบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนทางชาวบ้านจะจัด อาหารการกิน เช่น ขนม ข้าวต้ม และอาหารคาวต่าง ๆ สำหรับถวายพระภิกษุสามเณรและเลี้ยงแขกเลี้ยงคนที่มาร่วมงาน และจัดหาปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์เพื่อถวายพระภิกษุสามเณร ส่วนทางวัดก็แบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หลังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลายกัณฑ์ก็ได้เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์โดย ทั่วถึงกัน มอบหนังสือให้พระภิกษุสมเณรในวัดนั้นเพื่อเตรียมไว้เทศน์ นอกนั้นจะมีการนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์ โดยจะมีฎีกาไปนิมนต์พร้อมบอกชื่อกัณฑ์และบอกเชิญชวนชาวบ้านที่วัดนั้นตั้ง อยู่มาร่วมทำบุยด้วย ซึ่งตามปรกติเมื่อพระภิกษุสามเณรมาร่วมงานก็จะมีญาติโยมในหมู่บ้านนั้น ๆ ตามมาฟังเทศน์และร่วมงานด้วยหมู่บ้านและมาก ๆ หัวหน้าหรือผู้จัดงานในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของงานจะบอกบุญชาวบ้านในหมู่บ้าน ของตน ให้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์กัณฑ์ใด กัณฑ์หนึ่งจนทั่วถึงกันและบอกจำนวนคาถาของแต่ละกีณฑ์ให้ทราบด้วยเพื่อเตรียม ความเทียนมาตามจำนวนคาถาของกันฑ์ที่คนซึ่งจำนวนคาถาของกัณฑ์ต่าง ๆมีดังนี้ ทศพร ๑๙ คาถา หิมพานต์ ๑๓๔ คาถาทานกัณฑ์ ๒๐๙ คาถา วนปเวสน์ ๕๗ คาถาชูชก ๗๙ คาถา จุลพน ๓๕ คาถา มหาพน ๘๐คาถา กุมาร ๑๐๑ คาถา มัทรี ๙๐ คาถา สักบรรพ ๔๓ คาถา มหาราช ๖๙ คาถา ฉกษัตริย์ ๓๖ คาถาและนครกัณฑ์ ๔๘ คาถา รวม ๑๐๐๐ คาถาพอดีชาวบ้านยังแบ่งหน้าที่กันด้วยว่าใครเป็นผู้รับเลี้ยงพระภิกษุสามเณร และญาติโยมหมู่บ้านใด โดยแบ่งหน้าที่มอบให้รับผิดชอบเป็นกลุ่ม ๆ เนื่องจากแต่ละวัดมีชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านไปร่วมกันมากชาวบ้านจึงช่วยกัน ปลูกที่พักชั่วคราวขึ้น เรียกว่า ตูบ (กระท่อม) หรือผาม (ปะรำ) จะปลูกรอบบริเวณวัดรอบศาลาหรือรอบกฏิก็ได้ตูบมีขนาดกว้างประมาณ ๔ ศอก ยาวตามความเหมาะสมหลังคาเป็นรูปเพิงหรือเป็นจั่วก็ได้ พื้นปูด้วยกระดานหรือฟากที่พักนี้กะจัดทำให้พอเพียง และให้เสร็จเรียบร้อยก่อนวันเริ่มงาน
4. มหาชาติภาคใต้ สำนวนที่น่าสำนวนที่น่าสนใจ เช่น พระมหาชาดก ฉบับ วัดมัชฌิมาวาส จังหวัด สงขลา ไม่ปรากฏผู้แต่ง ทราบเพียงชื่อผู้ที่ทำการคัดลอก คือ พระภิกษุญีมเซ่า คัดลอกลงในสมุดข่อย เมื่อ พ.ศ.2395 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแต่งเป็นกาพย์ยานี11 กาพย์ฉบัง16 กาพย์สุรางคนางค์28 และมาลีนีฉันท์ 15 มหาชาติทางภาคใต้นนั้นเน้นการพรรณนามากว่าภาคเหนือและภาคอีสาน แต่น้อยกว่าภาคกลางโดยเน้นแสดงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เช่น เรื่องอาหาร พรรณไม้ ภูมิประเทศ